เครื่องรางญี่ปุ่นมีวันหมดอายุ: วิธีคืนเครื่องรางแบบถูกวิธี
เชื่อว่าชาวไทยหลายๆคนมักจะซื้อเครื่องราง (ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Omamori) เวลาเดินทางไปเที่ยววัดหรือศาลเจ้าในประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นการเสริมโชคเสริมดวงด้านต่างๆให้กับตัวเองหรือคนที่เรารัก
หมวดหมู่เครื่องราง
1. สุขภาพ (健康) (Kenkō)
– 健康祈願 (Kenkō kigan) : เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ห่างไกลความเจ็บป่วย
– 病気平癒 (Byōki heiyu) : เพื่อเสริมโชคด้านการรักษา ให้หายจากอาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
– 長寿祈願 (Chōju kigan) : เพื่อชีวิตที่ยืนยาวและสุขภาพดี
2. ความปลอดภัย (安全) (Anzen)
– 交通安全 (Kōtsū anzen):เพื่อการขับขี่อย่างปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุเกี่ยวกับรถยนต์
– 家内安全 (Kanai anzen):เพื่อความปลอดภัยและความสุขของสมาชิกในครอบครัว
– 旅行安全 (Ryokō anzen):เพื่อเสริมดวงด้านการเดินทางท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย
3. การเรียน (学業) (Gakugyō)
– 合格祈願 (Gōkaku kigan):เพื่อเสริมโชคด้านการสอบผ่าน
– 学業成就 (Gakugyō jōju):เพื่อเสริมโชคให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายด้านการเรียน
4. การเงิน (金運) (Kin-un)
– 金運上昇 (Kin’un jōshō):เพื่อเสริมดวงด้านการเงิน
– 商売繁盛 (Shōbai hanjō):เพื่อความเจริญรุ่งเรืองทางธุรกิจ
5. ความรัก (恋愛) (Ren-ai)
– 恋愛成就 (Ren’ai jōju):เพื่อเพิ่มโชคให้สมหวังในความรัก เช่น รักเขาข้างเดียว
– 縁結び (Enmusubi):เพื่อเพิ่มความเชื่อใจ และเสริมดวงในความสัมพันธ์ปัจจุบัน
6. เด็ก (子宝) (Kodakara)
– 子授祈願 (Kosazuke kigan):เพื่อเสริมโชคด้านการมีลูก
– 安産祈願 (Anzan kigan) : เพื่อการคลอดลูกที่ปลอดภัย
7. ป้องกันความชั่วร้าย (厄除け) (Yakuyoke)
– 厄除け (Yakuyoke):สำหรับป้องกันสิ่งชั่วร้ายและสิ่งอัปมงคล
– 方位除け (Hōiyoke):สำหรับการป้องกันความชั่วร้ายในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต
– 開運除災 (Kai-un josai):เพื่อเพิ่มความคุ้มครองในช่วงปีแห่งความโชคร้าย เช่น ปีชง ปีเบญจเพส
[ในญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า ชายอายุ 25, 42, 61 และ หญิง อายุ 19, 33, 37]
เครื่องรางก็มีวันหมดอายุ
หลายๆคนอาจจะไม่รู้เรื่องความเชื่อที่ว่าเครื่องรางเหล่านี้นั้นหมดอายุหรือหมดพลังหลังจากเวลาผ่านไป 1 ปี เมื่อเวลาผ่านไปคนญี่ปุ่นมักจะเปลี่ยนเครื่องรางใหม่ที่ชาร์จพลังเสริมดวงมาแบบจัดเต็ม ส่วนเครื่องรางบางประเภท เช่น โชคด้านการสอบผ่าน โชคด้านการมีลูก โชคให้สมหวังในความรักนั้น ควรจะนำไปคืนโดยเร็วเมื่อคำขอสมหวัง
แล้วพวกเราควรจะทำอย่างไรกับเครื่องรางที่หมดอายุหล่ะ?
การโยนทิ้งดื้อๆดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่ถือเป็นการหยาบคายและไม่เคารพต่อเทพเจ้าที่อุตส่ามอบความคุ้มครองและเสริมโชคอย่างตั้งใจให้พวกเรา
เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย เราจะมาแนะนำขั้นตอนต่างๆอย่างระเอียด เพื่อให้คุณสามารถจัดการกับเรื่องนี้ด้วยวิธีที่สุภาพและให้เกียรติเทพเจ้ามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
จัดหมวดหมู่เครื่องรางของเรา
ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าเครื่องรางนั้นๆเป็นของศาลเจ้าหรือเป็นของวัด เพราะเชื่อกันว่าเทพเจ้าของวัดและเทพเจ้าของศาลเจ้านั้นไม่เหมือนกัน การคืนเครื่องรางของวัดให้กับศาลเจ้า และตรงกันข้าม การคืนเครื่องรางของศาลเจ้าให้กับวัดนั้นถือเป็นเรื่องที่หยาบคาย เพราะเวลาเราคืนเครื่องรางเรามักจะคืนพร้อมกับความรู้สึกขอบคุณ เราจึงควรจะรู้ว่าเรากำลังจะไปแสดงความขอบคุณให้กับใคร เมื่อเราทำอะไรให้กับใครสักคนแล้วเขาไปขอบคุณคนอื่น มันไม่ใช่ความรู้สึกที่ดีใช่ไหมล่ะ?
เราสามารถดูว่าเครื่องรางของเราเป็นของวัดหรือของศาลเจ้าโดยดูจากตัวอักษรต่อไปนี้
ถ้าเห็น 大社 (Taisha) หรือ 神宮 (Jingū) แสดงว่าเป็นของ ศาลเจ้า
ถ้าเห็น 寺 (Tera/Ji) หรือ 寺院 (Ji-in) แสดงว่าเป็นของ วัด
นำเครื่องรางกลับไปที่วัดหรือศาลเจ้าเดิมที่ได้รับมา
เมื่อเดินทางมาถึงศาลเจ้าหรือวัดให้มองหาตัวอักษรเหล่านี้ 古札収所 (Kosatsu nousho)、古札受付 (kosatsu uketsuke) หรือตัวอักษรที่คล้ายๆกัน เพราะนั่นคือจุดที่เราจะนำเครื่องรางของเราไปส่งต่อให้พระดูแล ถ้าหากว่าหาไม่เจอให้ถามคนที่ทำงานที่ศาลเจ้าหรือวัดนั้นๆ ถ้าไม่สามารถเดินทางไปวัดหรือศาลเจ้าเดิมได้ เราสามารถหาวัดหรือศาลเจ้าในพื้นที่ใกล้ๆที่รับเครื่องรางได้ อย่าลืมว่าเครื่องรางของศาลเจ้าต้องไปคืนที่ศาลเจ้าส่วนเครื่องรางของวัดต้องไปคืนที่วัดเท่านั้น อย่าคืนสลับกันเดี๋ยวเทพเจ้าโกรธ
ส่งเครื่องรางไปที่วัดหรือศาลเจ้าทางไปรษณีย์
ถ้าเราอาศัยอยู่ไกลมากๆ เราสามารถส่งเครื่องรางของเราไปยังวัดหรือศาลเจ้าผ่านทางไปรษณีย์ได้ โดยเขียนที่ซองว่า お炊き上げ希望 (otaki age kibou) แต่ก่อนส่งควรเช็คกับวัดและศาลเจ้าเพราะบางที่อาจไม่รับการคืนด้วยวิธีนี้
เผาเครื่องรางในสวนหลังบ้าน
วิธีนี้ฟังดูง่ายแต่แอบมีความซับซ้อนอยู่นิดหน่อย เราต้องเตรียมกระดาษ Hanshi ญี่ปุ่นแล้วนำมาห่อเครื่องรางของเราพร้อมกับโรยเกลือลงไปเล็กน้อยก่อนจะนำไปเผา อย่าลืมแสดงความรู้สึกขอบคุณและแสดงความเคารพให้เครื่องรางของเราไม่ว่าสิ่งที่เราขอจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม
ทิ้งเครื่องราง
ถ้าหากว่าเราไม่มีทางเลือกอื่นแล้วจริงๆนอกจากการทิ้งเครื่องราง เราก็ควรทำตามวิธีที่ถูกต้อง
1. ให้กางกระดาษ Hanshi ญี่ปุ่นสีขาวบนโต๊ะหรือบนพื้น
2. วางเครื่องรางลงไปบนกระดาษ
3. โรยเกลือลงไปเล็กน้อย เริ่มจากด้านซ้าย ตามด้วยด้านขวา และด้านซ้ายอีกครั้ง
4. ห่อเครื่องรางด้วยกระดาษแล้วใส่ลงในถังขยะที่เผาได้
5. อย่าลืมแสดงความรู้สึกขอบคุณให้กับเครื่องรางของเราระหว่างทำพิธี
แสดงความรู้สึกขอบคุณเสมอ
อย่างที่กล่าวไปในบทความนี้แล้วหลายๆครั้ง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการแสดงความรู้สึกขอบคุณ นอกจากจะแสดงความรู้สึกขอบคุณให้กับเทพเจ้าแล้ว อย่าลืมแสดงความรู้สึกขอบคุณให้กับคนรอบข้างที่คอยช่วยเหลือและอยู่เคียงข้างเรา สุดท้ายแล้วอย่าลืมขอบคุณตัวเราเองด้วยที่คอยผลักดันให้มีชีวิตอยู่รอดจนถึงทุกวันนี้
อ่านเกี่ยวกับประเพณีปีใหม่ของญี่ปุ่นได้ที่นี่
Latest Contents
- Sanshoku Dango: ความหมายเบื้องหลังขนมดังโงะเสียบไม้สามสีสุดคาวาอี้
- เครื่องรางญี่ปุ่นมีวันหมดอายุ: วิธีคืนเครื่องรางแบบถูกวิธี
- ดูซากุระที่ Wakayama : ปราสาทและวัด
เที่ยว Kansai อย่างมั่นใจไปกับ KTIC
สอบถามข้อมูลท่องเที่ยว / PASS / WIFI / Day Tour
Kansai International Airport (KIX) T1
Open Everyday 9.30 – 17.30
Kyoto Tower 3F
Open Everyday 10.00 – 17.00